วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562
วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562
การออกแบบขั้นตอนวิธี
การตัดสินใจรดน้ำต้นไม้ของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
การตัดสินใจรดน้ำต้นไม้ในขั้นตอนวิธีของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
ระบบ จะต้องอ่านข้อมูลความชื้นของดินแล้วเปรียบเทียบกับค่าที่กำหนดไว้
(สมมติค่าความชื่นที่กำหนดเป็น 0.1 หน่วย) หากค่าความชื้นต่ำกว่าค่าที่กำหนด
ให้ระบบส่งสัญญาณเปิดน้ำ
และหากมีค่าความชื้นเกินกว่าหรือเท่ากับค่าที่กำหนดไว้ให้ระบบส่งสัญญาณปิดน้ำ
ในส่วนการทำงานหลักของขั้นตอนวิธี
คือ การตัดสินใจรดน้ำต้นไม้ มีการทำงานตามลำดับดังนี้
1.อ่านค่าความชื้นดังกล่าว
2.ให้ H แทนค่าค่าความชื้นดังกล่าง
3.ถ้า H < 0.1 แล้ว
3.1 ส่งสัญญาณเปิดน้ำ
ถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริง
3.2ส่งสัญญาณปิดน้ำ
ส่วนของขั้นตอนวิธีดังกล่าวเป็นการตัดสินใจเพียงครั้งเดียว
ดังนั้นเพื่อความสมบูรณ์ของขั้นตอนวิธีที่จะทำให้ระบบรดน้ำต้นไม้มีการอ่านค่าและส่งสัญญาณควบคุมจะต้องทำสม่ำเสมอ
จึงต้องสั่งให้ขั้นตอนวิธีด้านบนทำงานซ้ำๆต่อเนื่องกันไปดังนี้
Ø ขั้นตอนวิธี : ควบคุมการเปิดปิดน้ำของเครื่องรดน้ำต้นไม้
Ø ข้อมูลเข้า : ค่าความชื้นของดิน
Ø ข้อมูลออก : สัญญาณเปิดปิดน้ำ
1.ทำซ้ำทุกๆ
1 วินาที
1.1 อ่านค่าความชื้นของดิน
1.2 ให้ H แทนค่าความชื้นดังกล่าว
1.3 ถ้า H
< 0.1 แล้ว
1.3.1 ส่งสัญญาณเปิดน้ำ
ถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริง
1.3.2 ส่งสัญญาณปิดน้ำ
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562
ข่าว7
แอมโมเนียรั่ว ระทึก โรงน้ำแข็งกบินทร์บุรี หามคนงาน ชาวบ้านส่งรพ.วุ่น
ท่อแก๊สแอมโมเนีย ภายในโรงน้ำแข็ง “บ่อทองไอซ์” ในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เกิดรั่วไหลมีกลิ่นฟุ้งไปทั่วบริเวณ หาม 10 ชีวิตคนงาน ชาวบ้าน มีอาการแสบตา หายใจไม่ออก ส่งรพ.วุ่น..อ่านเพิ่มเติม
ข่าว6
ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสร้างยาปฏิชีวนะใหม่
ธรรมชาติถือเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ของสารประกอบทางเคมี ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายชนิด ทว่าสารเคมีที่น่าสนใจที่สุดมักมาจากสิ่งมีชีวิต ทว่านำมาใช้งานได้ยากในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยเฉพาะสารประกอบเคมีประเภทพอลิคีไทด์ (polyketides) คือกลุ่มสารเคมีที่สำคัญซึ่งส่วนใหญ่ผลิตโดยแบคทีเรียในดินและจุลินทรีย์อื่นๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ เผยความสำเร็จในการสร้างแบคทีเรียลำไส้ที่พบบ่อยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ด้วยการใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย ยาปฏิชีวนะดังกล่าวรู้จักกันในชื่อพอลิคีไทด์ คลาสทู (polyketides Class II) เกิดจากแบคทีเรียในดินตามธรรมชาติและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย อันมีความสำคัญในอุตสาหกรรมยาสมัยใหม่ที่เชื่อว่าจะนำไปใช้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งได้
การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นศักยภาพของวิธีการรวมเครื่องจักรกลการผลิตแบคทีเรียเข้ากับเอนไซม์จากพืชและเชื้อรา จนเกิดความเป็นไปได้ที่จะสร้างสารประกอบทางเคมีใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในธรรมชาติ และไม่เพียงช่วยให้นักวิจัยทดลองสารพอลิคีไทด์ใหม่ได้แบบอัตโนมัติ แต่ยังจะสามารถเขียนลำดับดีเอ็นเอของเส้นทางการสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเผยว่าน่าจะใช้เวลาราว 1 ปีในการสร้างและทดสอบยาปฏิชีวนะที่อาจเกิดขึ้นได้ถึงสิบชนิด.
ข่าว5
นักฟิสิกส์เผยวิธีสร้าง "รูหนอน" แบบไม่พังทลายในชั่วพริบตา
ได้สำแนวคิดเรื่องการสร้าง "รูหนอน" (wormhole) หรือเส้นทางลัดข้ามจักรวาลที่เกิดจากการบิดเบี้ยวพับตัวของปริภูมิ-เวลา (space-time) ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์นั้น หลายคนทราบดีว่าเป็นไปได้ยาก เพราะต้องใช้การผสมผสานระหว่างมวลและพลังงานชนิดพิเศษ เพื่อให้เกิดรูหนอนที่มีความเสถียร ไม่พังทลายไปเสียก่อนจะเคลื่อนย้ายวัตถุหรือข้อมูลสู่ปลายทางเร็จ
ล่าสุดทีมนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซานตาบาร์บารา (UCSB) ของสหรัฐฯ ได้เสนอวิธีการทางทฤษฎีเพื่อสร้างรูหนอนแบบที่มั่นคงแข็งแกร่งกว่าปกติ ในบทความวิจัยที่เผยแพร่ทางคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org โดยระบุว่าวิธีการดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนด้วยกัน
1. ทำให้หลุมดำมีประจุไฟฟ้า
ในทางทฤษฎีแล้ว รูหนอนอาจเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่หากเกิดการรบกวนเช่นมีผู้ส่งโฟตอนหรืออนุภาคของแสงเพียง 1 อนุภาคเข้าไปภายในรูหนอน สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือรูหนอนพังทลายลงด้วยความเร็วเหนือแสง ทำให้ทางเข้าออกของมันปิดตายในชั่วพริบตา และการ "วาร์ป" เคลื่อนย้ายวัตถุหรือข้อมูลไม่เป็นผลสำเร็จ
ปัญหานี้อาจแก้ไขได้ด้วยการใช้วัตถุที่มวลเป็นลบ (negative mass) ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการรบกวนโครงสร้างของรูหนอน แต่ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังคงค้นหาสสารที่มีมวลเป็นลบไม่พบ ทำให้ต้องคิดคำนวณหาทางอื่นที่เป็นไปได้จริงมากกว่าแทน
วิธีการหนึ่งซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการสร้างรูหนอนที่เสถียรมากขึ้น ก็คือการทำให้หลุมดำคู่หนึ่งมีประจุไฟฟ้า ทีมผู้วิจัยระบุว่าตามปกตินั้นหลุมดำสามารถจะมีประจุไฟฟ้าในตัวได้อยู่แล้ว โดยหลุมดำประเภทนี้จะมีภาวะเอกฐาน (singularity) ที่ยืดขยายและบิดเบี้ยวได้ ทำให้เกิดช่องทางเชื่อมต่อกับหลุมดำอีกแห่งหนึ่งที่มีประจุไฟฟ้าขั้วตรงข้าม จนกลายเป็นประตูทางเข้าออกของรูหนอนข้ามจักรวาลขึ้นในที่สุด
2. "ผูกโบว์" เสริมความแข็งแกร่งด้วยเส้นคอสมิก
อย่างไรก็ตาม รูหนอนที่เกิดจากคู่หลุมดำซึ่งต่างก็มีประจุไฟฟ้าขั้วตรงข้ามมาเชื่อมต่อกัน ยังคงมีปัญหาเรื่องความไม่คงทนถาวรอยู่เมื่อมีการส่งวัตถุหรือข้อมูลผ่านเข้าไปในนั้น
อุปสรรคอีกข้อหนึ่งก็คือหลุมดำทั้งสองอาจดึงดูดเข้าหากันเอง หากตั้งอยู่ในระยะห่างที่ไม่มากพอ ซึ่งจะทำให้คู่หลุมดำมีประจุรวมตัวเข้าด้วยกัน กลายเป็นหลุมดำขนาดใหญ่ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า แต่ไม่สามารถจะใช้ประโยชน์จากการสร้างรูหนอนอีกได้
เพื่อให้แน่ใจว่ารูหนอนจะเปิดอยู่เป็นเวลานานพอ จนสามารถเคลื่อนย้ายวัตถุหรือส่งข้อมูลได้ทันก่อนที่มันจะพังลงมา ทีมผู้วิจัยได้เสนอให้ใช้ "เส้นคอสมิก" (cosmic string) เสริมความแข็งแกร่งให้กับรูหนอนนี้
เส้นคอสมิกเป็นสิ่งที่นักฟิสิกส์สันนิษฐานว่ามีอยู่จริงในทางทฤษฎี โดยเป็นร่องรอยของข้อบกพร่องที่หลงเหลืออยู่หลังเกิดเหตุการณ์บิ๊กแบง คล้ายกับการเกิดรอยแตกในแผ่นน้ำแข็งเมื่อน้ำเริ่มเย็นจัดและแข็งตัว คาดว่าเส้นคอสมิกมีความบางเฉียบไม่เกินขนาดของอนุภาคโปรตอน แต่หากมันมีความยาวเพียง 1 นิ้ว ก็จะมีน้ำหนักมากกว่าเขาเอเวอเรสต์ทั้งลูก
เส้นคอสมิกสามารถทำให้เกิดแรงดึง (tension) ในระดับมหาศาลขึ้นได้ หากเรานำมันสอดเข้าไปในรูหนอนระหว่างคู่หลุมดำเหมือนร้อยเส้นด้าย จากนั้นดึงที่ปลายทั้งสองข้างของเส้นคอสมิกให้ตึง จนแรงดึงเพิ่มขึ้นถึงระดับที่เป็นอนันต์ ก็จะมีแรงต้านทานให้ทางเข้าออกของรูหนอนเปิดอยู่นานขึ้นและคู่หลุมดำไม่ขยับเข้าใกล้จนมารวมตัวกัน
3. สั่นสะเทือนจนเกิดพลังงานลบ
หากต้องการให้รูหนอนมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทีมผู้วิจัยระบุว่าให้ทบปลายทั้งสองข้างของเส้นคอสมิกที่โผล่พ้นรูหนอนให้บรรจบเข้าด้วยกันเป็นวงกลม จะทำให้รูหนอนไม่พังทลายอย่างง่ายดายในชั่วพริบตาเหมือนเช่นเดิม
การที่เส้นคอสมิกกลายเป็นวงกลม ทำให้มันบิดตัวไปมาและสั่นอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนสร้างความปั่นป่วนให้กับปริภูมิ-เวลาโดยรอบ ซึ่งหากการสั่นเพิ่มไปถึงระดับที่เหมาะสมแล้ว พลังงานที่อยู่ในบริเวณนั้นจะมีค่าเป็นลบ (negative energy) โดยในทางฟิสิกส์พลังงานนี้จะให้ผลแบบเดียวกับมวลที่เป็นลบ ซึ่งจะทำให้รูหนอนเสถียรได้
แต่อย่างไรก็ดี การสั่นของเส้นคอสมิกจะทำให้มันค่อย ๆ สูญเสียมวลและพลังงานในตัวเองทีละน้อย จนกระทั่งมีขนาดเล็กลงและหดหายไป จนเหลือแต่ความว่างเปล่าในที่สุด
ถึงกระนั้นก็ตาม ช่วงเวลาที่เส้นคอสมิกยังคงสั่นอยู่ ได้ช่วยยืดระยะเวลาให้รูหนอนมีความเสถียรอยู่นานพอ จนสามารถเคลื่อนย้ายวัตถุ ข้อมูล หรือแม้แต่ทีมสำรวจอวกาศของชาวโลกไปยังอีกฝั่งของห้วงจักรวาลได้อย่างปลอดภัย ถึงจุดหมายปลายทางในชั่วพริบตา
เพียงแต่ตอนนี้บรรดานักวิทยาศาสตร์จะต้องเริ่มค้นหา "เส้นคอสมิก" ให้เจอเสียก่อนก็เท่านั้น
ข้อสอบO-NET
ข้อสอบ O-NET ปี 2550
ข้อที่ 1. สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน
ตัวเลือกที่ 1 : ไขมัน
ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน
ตัวเลือกที่ 3 : คาร์ไบไฮเดรต
ตัวเลือกที่ 4 : กรดนิวคลีอิก
ข้อที่ 2. ในการปรุงอาหารให้แก่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดใด เพราะเหตุใด
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีโปรตีนมากเกินไป
ตัวเลือกที่ 2 : น้ำมันรำ เพราะเกิดกลิ่นเหม็นหืนง่าย
ตัวเลือกที่ 3 : น้ำมันมะพร้าว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
ตัวเลือกที่ 4 : น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นมาก
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีโปรตีนมากเกินไป
ตัวเลือกที่ 2 : น้ำมันรำ เพราะเกิดกลิ่นเหม็นหืนง่าย
ตัวเลือกที่ 3 : น้ำมันมะพร้าว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
ตัวเลือกที่ 4 : น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นมาก
ข้อที่ 3. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตัวเลือกที่ 1 : กรดไลโนเลอิก เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
ตัวเลือกที่ 2 : ถ้าเด็กทารกขาดกรดไลโนเลนิก จะมีผิวหนังแห้ง อักเสบ หลุดลอก
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมันเมื่อต้มกับเบสจะเกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน
ตัวเลือกที่ 4 : คอเลสเทอรอลไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
ตัวเลือกที่ 1 : กรดไลโนเลอิก เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
ตัวเลือกที่ 2 : ถ้าเด็กทารกขาดกรดไลโนเลนิก จะมีผิวหนังแห้ง อักเสบ หลุดลอก
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมันเมื่อต้มกับเบสจะเกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน
ตัวเลือกที่ 4 : คอเลสเทอรอลไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
ข้อที่ 4. กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับทารกคือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : อาร์จินีน และฮีสติดีน
ตัวเลือกที่ 2 : ทริปโตเฟนและเมไทโอนีน
ตัวเลือกที่ 3 : ไลซีนและลิวซีน
ตัวเลือกที่ 4 : ไอโซลิวซีนและเวลีน
ตัวเลือกที่ 1 : อาร์จินีน และฮีสติดีน
ตัวเลือกที่ 2 : ทริปโตเฟนและเมไทโอนีน
ตัวเลือกที่ 3 : ไลซีนและลิวซีน
ตัวเลือกที่ 4 : ไอโซลิวซีนและเวลีน
ข้อที่ 5. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของโปรตีน
ตัวเลือกที่ 1 : รักษาสมดุลของน้ำและกรด-เบส
ตัวเลือกที่ 2 : เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ทุกชนิด
ตัวเลือกที่ 3 : สร้างอิมมูโนโกลบูลิน
ตัวเลือกที่ 4 : ช่วยละลายวิตามิน A D E K
ตัวเลือกที่ 1 : รักษาสมดุลของน้ำและกรด-เบส
ตัวเลือกที่ 2 : เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ทุกชนิด
ตัวเลือกที่ 3 : สร้างอิมมูโนโกลบูลิน
ตัวเลือกที่ 4 : ช่วยละลายวิตามิน A D E K
ข้อที่ 6. สารชนิด A เมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์ลงไป แล้วเกิดตะกอนสีแดงอิฐ สารชนิด B เมื่อหยดสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนลงไป แล้วเกิดสีน้ำเงิน ข้อใดผิด
ตัวเลือกที่ 1 : A คือ มอโนแซ็กคาไรด์
ตัวเลือกที่ 2 : B สามารถย่อยสลายด้วยเอมไซม์อะไมเลสแล้วจะได้น้ำตาลแลกโตส
ตัวเลือกที่ 3 : เมื่อนำ A ไปหมักด้วยยีสต์ จะได้เอทิลแอลกอฮอล์
ตัวเลือกที่ 4 : B เมื่อถูกความร้อนจะสลายเป็นเด็กซ์ตริน มีสมบัติเหนียวแบบกาว
ตัวเลือกที่ 1 : A คือ มอโนแซ็กคาไรด์
ตัวเลือกที่ 2 : B สามารถย่อยสลายด้วยเอมไซม์อะไมเลสแล้วจะได้น้ำตาลแลกโตส
ตัวเลือกที่ 3 : เมื่อนำ A ไปหมักด้วยยีสต์ จะได้เอทิลแอลกอฮอล์
ตัวเลือกที่ 4 : B เมื่อถูกความร้อนจะสลายเป็นเด็กซ์ตริน มีสมบัติเหนียวแบบกาว
ข้อที่ 7. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ( DNA)
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำตาลไรโบส
ตัวเลือกที่ 2 : อะดีนีน
ตัวเลือกที่ 3 : หมู่ฟอสเฟต
ตัวเลือกที่ 4 : กรดไรโบนิวคลิอิก (RNA)
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำตาลไรโบส
ตัวเลือกที่ 2 : อะดีนีน
ตัวเลือกที่ 3 : หมู่ฟอสเฟต
ตัวเลือกที่ 4 : กรดไรโบนิวคลิอิก (RNA)
ข้อที่ 8. โครงสร้างของDNA สายหนึ่งมีคู่เบสเป็น A C A G ดังนั้นคู่เบสของ DNA อีกสายคือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : A C A G
ตัวเลือกที่ 2 : C A G A
ตัวเลือกที่ 3 : T G T C
ตัวเลือกที่ 4 : G T T C
ตัวเลือกที่ 1 : A C A G
ตัวเลือกที่ 2 : C A G A
ตัวเลือกที่ 3 : T G T C
ตัวเลือกที่ 4 : G T T C
ข้อที่ 9. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูก ก. ซากพืชซากสัตว์ จะถูกย่อยสลายเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ข. ในการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ จะได้สารที่เป็นแก๊สออกมาก่อน ค. แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ประกอบด้วยแก๊สมีเทนและโพรเพน ง. สารไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะคู่
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ข้อที่ 10. น้ำมันชนิดใดเหมาะกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและไม่มีมลพิษ ก. น้ำมันที่มีไอโซออกเทนมากกว่าเฮปเทนมากๆ ข. น้ำมันที่มีการเติมสารเมทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์ ค. น้ำมันที่มีเลขออกเทนต่ำกว่า 75 และเติมสารเตตระเมทิลเลต ง. น้ำมันที่มีเลขซีเทนสูงๆ
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ข้อที่ 11. ข้อใดเป็นพอลิเมอร์ทั้งหมด
ตัวเลือกที่ 1 : แป้ง เซลลูโลส น้ำตาล
ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน พอลิเอทิลีน ยางพารา
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมัน เตตระฟลูออโรเอทิลีน ไวนิลคอลไรด์
ตัวเลือกที่ 4 : ไกลโคเจน ซิลิโคน กลูโคส
ตัวเลือกที่ 1 : แป้ง เซลลูโลส น้ำตาล
ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน พอลิเอทิลีน ยางพารา
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมัน เตตระฟลูออโรเอทิลีน ไวนิลคอลไรด์
ตัวเลือกที่ 4 : ไกลโคเจน ซิลิโคน กลูโคส
ข้อที่ 12. พลาสติกชนิดใดไม่ใช่เทอร์โมพลาสติก
ตัวเลือกที่ 1 : A เป็นพลาสติกที่เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว
ตัวเลือกที่ 2 : B เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ตัวเลือกที่ 3 : C เป็นพลาสติกที่สมบัติไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวเลือกที่ 4 : D เป็นพลาสติกที่มีโครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห
ตัวเลือกที่ 1 : A เป็นพลาสติกที่เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว
ตัวเลือกที่ 2 : B เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ตัวเลือกที่ 3 : C เป็นพลาสติกที่สมบัติไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวเลือกที่ 4 : D เป็นพลาสติกที่มีโครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห
ข้อที่ 13. พิจารณาข้อความเกี่ยวกับยางต่อไปนี้ ข้อใดถูก ก. ยาง เกิดจากมอนอเมอร์ของธาตุซิลิคอน ข. ยางธรรมชาติ ทนต่อน้ำมันเบนซินและตัวละลายอินทรีย์ ค. การปรับปรุงคุณภาพยางธรรมชาติให้ดีขึ้น โดยนำมาคลุกกับกำมะถัน ง. ยาง SBR เกิดจากมอนอเมอร์ของสไตรีนและบิวทาไดอีน
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ข้อที่ 14. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อนออกมา เรียกว่าปฏิกิริยาดูดความร้อน ข. ฝนกรดที่เกิดบริเวณที่มีการใช้ถ่านหิน จะเกิดจากแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ ค.โอโซน เป็นแก๊สพิษ ทำให้เกิดการระคายเคืองกับดวงตาและทางเดินหายใจ ง. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือผงฟู ใช้ดับไฟป่าได้
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ข้อที่ 15. ปฏิกิริยาในข้อใดมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุด
ตัวเลือกที่ 4 :
ข้อที่ 16. จากปฏิกิริยาต่อไปนี้ สาร A ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เกิดแก๊สไฮโดรเจน สาร B ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก สาร A ที่มีสาร B พันอยู่ ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกได้เร็วมากและมีฟองแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้นปริมาณมาก สารชนิดใดทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ตัวเลือกที่ 1 : สาร A
ตัวเลือกที่ 2 : สาร B
ตัวเลือกที่ 3 : กรดไฮโดรคลอริก
ตัวเลือกที่ 4 : แก๊สไฮโดรเจน
ตัวเลือกที่ 1 : สาร A
ตัวเลือกที่ 2 : สาร B
ตัวเลือกที่ 3 : กรดไฮโดรคลอริก
ตัวเลือกที่ 4 : แก๊สไฮโดรเจน
ข้อที่ 17. ข้อใดคือสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ X ที่มีจำนวนอิเล็กตรอน 10 อนุภาค มีจำนวนนิวตรอน12 อนุภาค
ตัวเลือกที่ 1 :
ตัวเลือกที่ 2 :
ตัวเลือกที่ 3 :
ตัวเลือกที่ 4 :
ข้อที่ 18.
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ข้อที่ 19. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับตารางธาตุ
ตัวเลือกที่ 1 : ตารางธาตุในปัจจุบันเรียงตามน้ำหนักอะตอม ตามหลักของดิมิทรีอิวาโนวิช เมนเดเลเอฟ
ตัวเลือกที่ 2 : ธาตุในหมู่ 1A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
ตัวเลือกที่ 3 : ธาตุแทรนซิชัน เป็นกึ่งโลหะ
ตัวเลือกที่ 4 : พันธะโคเวเลนซ์ เกิดจากการให้และรับอิเล็กตรอนระหว่างอะตอม
ข้อที่ 20. ธาตุชนิดหนึ่ง มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีมาก เกิดสารประกอบกับโลหะ เป็นโลหะเฮไลด์ สามารถรับอิเล็กตรอนได้อีก1 อนุภาค ธาตุนี้น่าจะเป็นธาตุใด
ตัวเลือกที่ 1 : โซเดียม
ตัวเลือกที่ 2 : ฮีเลียม
ตัวเลือกที่ 3 : อะลูมิเนียม
ตัวเลือกที่ 4 : คลอรีน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)